KJL โชว์กำไร Q2/66 โตตามนัด 17.71%หลังออเดอร์เพิ่ม ต้นทุนวัตถุดิบลด

KJL โชว์กำไร Q2/66 โตตามนัด 17.71%หลังออเดอร์เพิ่ม ต้นทุนวัตถุดิบลด

”กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค” ฟันกำไร Q2/66 ที่ 39.61 ลบ. เพิ่มขึ้น 17.71% QOQ หลังยอดขายสินค้าเพิ่มขึ้น ราคาวัตถุดิบปรับตัวลดลง ใช้เทคโนโลยี Industry 4.0 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

นายเกษมสันต์ สุจิวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด(มหาชน) หรือ KJL เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 บริษัทฯมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 39.61 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 5.96 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 17.71% จากไตรมาสก่อนหน้าที่มีไรสุทธิ 33.65 ล้านบาท ในขณะที่กำไรสุทธิช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 อยู่ที่ 73.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.48 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 11.37% จากช่วงครึ่งปีแรกของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 65.79 ล้านบาท

โดยที่กำไรสุทธิของบริษัทฯที่เพิ่มขึ้นทั้งในรายไตรมาส และช่วงครึ่งปีแรกนั้นมีสาเหตุหลักจากการที่บริษัทฯมียอดขายสินค้าที่เพิ่มขึ้นจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และราคาวัตถุดิบที่ลดลง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีระบบควบคุมการผลิตแบบ Industry 4.0 โดยการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และควบคุมต้นทุนได้ดี นอกจากนี้ทางบริษัทฯยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายการขายและบริหารได้ดีด้วย ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 อยู่ที่ 13.90% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 13.14%

     ในขณะที่รายได้จากการขายของบริษัทฯในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 อยู่ที่ 287.48 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 47.85 ล้านบาทจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีรายได้ 239.63 บาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 19.97% ส่วนรายได้ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2566 อยู่ที่ 527.12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.45 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้ 500.67 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น 5.28% โดยมีสาเหตุหลักจากการที่บริษัทฯมียอดสั่งซื้อจากลูกค้ามากขึ้น จากกิจกรรมส่งเสริมการขายที่ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 โดยรายได้ส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ยังคงเป็นสินค้ามาตรฐานเคเจแอล ตู้ไซส์มาตรฐาน รางไวร์เวย์ และพูลบ๊อกซ์ ที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ71.55

“ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ทั้งรายได้ และกำไรยังคงเพิ่มขึ้นได้ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ จากยอดคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการตลาด ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าสาธารณูปโภคค่าซ่อมแซม และบำรุงรักษา วัสดุสิ้นเปลืองในโรงงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับการผลิตที่มากขึ้น แต่ด้วยราคาวัตถุดิบลดลง และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนด้านการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้เรายังสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างน่าพอใจ” นายเกษมสันต์กล่าว

 

ข่าวเกี่ยวข้อง